ต้อนรับด้วยหัวใจล้นหลาม เด็กๆเยาวชน มอบกำลังใจแทนคำขอบคุณ แม่ทัพลุงต้น ด้วยข้อความผ่านกระดาษหัวใจ ให้ลุงแม่ทัพต้นมีกำลังใจและกำลังกายในการทำงานเพื่อพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
“หนูดีใจที่แม่ทัพเอาของขวัญมาให้หนูทุกๆปี”
“ขอบคุณจากใจดวงน้อยๆนี้สำหรับของขวัญที่มอบให้ขอให้ลุงต้นสุขภาพแข็งแรงตลอดไป”
“ขอบคุณชุดรายอจากลุงต้น สู้ๆนะครับ”
“มีความสุขมากที่ได้ชุดรายอ”
“ขอให้ลุงแม่ทัพสร้างความปลอดภัยให้แก่พวกเรา”
》นี่คือตัวอย่างข้อความบางส่วนที่เด็กๆเยาวชน ที่ได้รับผลกระทบจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตูมอบให้กับแม่ทัพภาคที่ 4 พลโท ศานติ ศกุนตนาค ในพิธีมอบชุดรายอและของขวัญให้กับเยาวชน ทั้งมุสลิมและไทยพุทธที่อาศัย ณ ที่แห่งนี้
》วันนี้ 17 เมษายน 2566 เวบา 14.00 น. ที่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา พร้อมใจกันร่วมกิจกรรมในพิธีมอบชุดรายอให้กับเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองในเทศกาล ประเพณีอันดีงามของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและร่วมมือกับภาคประชาสังคมและองค์กรต่างๆ ที่ได้ประสานงานและ ร่วม สนับสนุนของขวัญ และชุดรายอมอบแก่น้อง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกัน
》ทั้งนี้ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่มีฐานะยากจนให้มีการสร้างงาน โดยการให้ความรู้ ให้การฝึกอบรมความสามารถทางเทคนิคในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และหัตถกรรม ซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการสนับสนุนให้ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านกว่า 150 ครัวเรือนได้มีงานและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยกว่าเดิม ซึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตูมีสมาชิกไทยพุทธและมุสลิมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ และไม่มีที่อยู่อาศัยมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจำนวน 533 คน เยาวชนเหล่านี้ได้รับการศึกษาทั้งในระดับสายสามัญและศาสนา ซึ่งปัจจุบัน มีนางอ้อยใจ ศรีสุวรรณ เป็นประธานมูลนิธิสตรีผู้ได้รับผลกระทบ
》ถือเป็นโอกาสที่ดีด้วยความรักและห่วงใยจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆรวมไปถึงแม่ทัพภาคที่ 4 ที่ยังคงคิดถึงน้องๆ เยาวชนและสตรีที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ร่วมกันอำนวยความสะดวกและส่งเสริมกิจกรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามท้องถิ่น ต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับวันนี้ที่ได้นำของขวัญและชุดรายอมามอบให้ เพื่อใช้ในเทศกาลเฉลิมฉลองที่ใกล้จะมาถึงนี้■■■